ทำความรู้จัก "วัณโรคปอด" จากกรณีการเสียชีวิตของ "โรเบิร์ต สายควัน"

วัณโรคปอด, เสียชีวิต, โรเบิร์ต สายควัน, วัณโรค, โรคติดต่อ, ติดเชื้อ, การแพร่กระจาย, ผู้ป่วย, อาการ

"วัณโรคปอด" อันตรายแค่ไหน?

วัณโรคปอด, เสียชีวิต, โรเบิร์ต สายควัน, วัณโรค, โรคติดต่อ, ติดเชื้อ, การแพร่กระจาย, ผู้ป่วย, อาการ

หลังจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของศิลปินตลกชื่อดัง "โรเบิร์ต สายควัน" ซึ่งได้เข้ารับการรักษาตัวจากอาการป่วยจนไม่พบเชื้อมะเร็งปอดแล้ว แต่กลับพบเชื้อวัณโรคปอดแทน จนเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 19 ก.ย. 2563 "โรเบิร์ต สายควัน" ก็ได้จากไปอย่างสงบในวัย 54 ปี ที่โรงพยาบาลเสรีรักษ์ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้ทุกคนตระหนักถึงและให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคนี้ โดยก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ "วัณโรคปอด" กันดีกว่าว่าโรคนี้มันอันตรายแค่ไหน?

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทย คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 เนื่องจากเชื้อติดต่อผ่านทางลมหายใจจึงทำให้เชื้อเข้าไปฝังตัวที่ปอดเป็นอวัยวะแรกของร่างกาย และเชื้อนี้ยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง จึงเป็นเหตุทำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ รวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

รู้ทัน! "วัณโรคปอด" จากกรณีการเสียชีวิตของ "โรเบิร์ต สายควัน"

วัณโรคปอด, เสียชีวิต, โรเบิร์ต สายควัน, วัณโรค, โรคติดต่อ, ติดเชื้อ, การแพร่กระจาย, ผู้ป่วย, อาการ

มาทำความรู้จัก "วัณโรคปอด" จากกรณีการเสียชีวิตของ "โรเบิร์ต สายควัน" กันดีกว่าว่ามันอันตรายแค่ไหน? มีสาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และการรักษา อย่างไรบ้าง?

การแพร่กระจายวัณโรคปอด

วัณโรคปอด, เสียชีวิต, โรเบิร์ต สายควัน, วัณโรค, โรคติดต่อ, ติดเชื้อ, การแพร่กระจาย, ผู้ป่วย, อาการ

เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายจากปอด หลอดลม หรือกล่องเสียงของผู้ป่วยวัณโรค เมื่อผู้ป่วยไอจามพูดดังๆ ตะโกน หัวเราะ หรือร้องเพลง เชื้อเหล่านี้จะอยู่ในละอองฝอยของเสมหะที่ออกมาสู่อากาศ อนุภาคของละอองฝอยขนาดใหญ่มักตกลงพื้นและแห้งไป เหลือส่วนที่เล็กที่สุดที่มีเชื้อวัณโรคซึ่งจะลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และถูกทำลายโดยแสงแดด เมื่อคนสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อวัณโรคที่มีขนาดใหญ่จะติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอ ซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดโรคแต่ส่วนที่มีขนาดเล็กๆ จะเข้าไปสู่ที่ปอด เชื้อจะถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากมีเชื้อที่ถูกทำลายไม่หมดจะแบ่งตัวทำให้เกิดการติดเชื้อ ถ้าระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงจะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้

อาการของวัณโรค

วัณโรคปอด, เสียชีวิต, โรเบิร์ต สายควัน, วัณโรค, โรคติดต่อ, ติดเชื้อ, การแพร่กระจาย, ผู้ป่วย, อาการ

1. ระยะแฝง (Latent TB)

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายภายใน 2-8 สัปดาห์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรค จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คือมีเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่เชื้อโรคอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นเวลาหลายสิบปีหรือตลอดทั้งชีวิตเลย โดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมี 10% ของวัณโรคระยะแฝงที่รอจังหวะเมื่อร่างกายเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้ เชื้อวัณโรคจะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรค แต่หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ

2. ระยะแสดงอาการ (Active TB)

เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่างๆ ซึ่งมีเพียง 10% ของผู้ที่ได้รับเชื้อเท่านั้น โดย 5% จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี ส่วนอีก 5% จะป่วยเป็นวัณโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาก็จะหายขาดจากโรคได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ 50-65 จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

อาการที่ปรากฎให้เห็นได้ชัดเจน

1. มีไข้เรื้อรังต่ำๆ จนอาจไม่ได้สังเกต มักจะเป็นตอนเย็นหรือตอนบ่าย
2. เหงื่อออกมากผิดปกติช่วงกลางคืน
3. อ่อนเพลียเป็นประจำแม้ว่าจะพักผ่อนเพียงพอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติ
4. ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ทั้งแบบไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด
5. เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ และหายใจติดขัด
6. อาการแทรกซ้อนอาจพบได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในปอดมีน้ำในช่องหุ้มปอด และหากเชื้อแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ก็จะกลายเป็นวัณโรคของอวัยวะนั้นๆ

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด

1. ผู้อาศัยร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
2. ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล หรือญาติที่ดูแล
3. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดหรือผู้ป่วยเอดส์
4. ผู้ติดสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์
5. คนจรจัดหรือคนขาดสารอาหาร
6. คนที่อาศัยอยู่ในที่แออัดหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
7. เด็กทารกหรือผู้สูงอายุ

วิธีป้องกันวัณโรคปอด

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ตรวจการทำงานของปอด
6. ตรวจสุขภาพประจำปี
7. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
8. หากมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์
9. สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่แออัด

วัณโรครักษาหายได้

1. ให้ยารักษาวัณโรคใช้เวลาในการรักษา 6-8 เดือน กินยาจนครบไม่หยุดยาเอง หากมีอาการแพ้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์
2. ให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) วิตามินรวม (ถ้าเบื่ออาหาร) เป็นต้น
3. แพทย์จะนัดติดตามอาการและตรวจเสมหะเป็นระยะ

แม้วัณโรคจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้เช่นกัน ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาคือ รักษาให้หายขาดเพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ มีบ้างแต่น้อย เช่น รักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีรอยโรคเฉพาะตำแหน่งหรือรับประทานยาแล้วมีผลข้างเคียงสูง

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher